ย้อนรอย อะพอลโล 11 เหตุการณ์ประวัติศาสตร์สหรัฐ

พฤษภาคม 21, 2024
อะพอลโล 11

อะพอลโล 11 ยานอวกาศขององค์การนาซา ที่สามารถทำ ภารกิจเหยียบดวงจันทร์ ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ด้วยจรวด Saturn V ที่มีความสูงเท่ากับตึก 36 ชั้น ผ่านฐานยิงจรวด 39A

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1969 นับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ และเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ได้เป็นช่วงเวลาสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ United States of America และประวัติศาสตร์โลก

สาเหตุหลักๆ ที่สหรัฐต้องการไปดวงจันทร์ ?

ว่าด้วยสาเหตุหลัก ๆ เกิดขึ้นหลังจาก เหตุการณ์ของสหภาพโซเวียต ได้ปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1 ( Sputnik 1 Satellite ) ขึ้นสู่วงโคจรโลก เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1957 ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่าง 2 ประเทศนี้ ในส่วนของกิจการด้านอวกาศ ช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่ประธานาธิบดี “ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ”

กำลังเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐ ประชากรอเมริกันเห็นตรงกันว่า ประเทศของตนกำลังพ่ายแพ้ ให้กับสหภาพโซเวียตในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งยังมีความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่า ด้วยเหตุนี้เอง United States จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะส่งคนเป็น ๆ ขึ้นไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เป็นประเทศแรก [1]

ตามแผนโครงการการบินอวกาศ สหรัฐวางไว้อย่างไร ?

อะพอลโล 11

ในส่วนของแผนการดำเนิน ส่งมนุษย์ไปบนดวงจันทร์ ทางองค์การการบิน รวมถึงองค์การนาซา ได้ทุ่มทุน ทุ่มทรัพยากร ให้กับโครงการ อะพอลโล 11 เป็นจำนวนมหาศาล โดยระดมพลบุคลากร ที่มีความสามารถ เข้ามาทำงานส่วนนี้ 400,000 คน ใช้งบประมาณไป 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตีเป็นเงินไทยราว ๆ 772,500 ล้านบาท ( มูลค่าเงินตราสมัยนั้น ) จากนั้นได้คัดเลือกนักบินอวกาศ นั่นก็คือ นีล อาร์มสตรอง, บัซ อัลดริน, ไมเคิล คอลลินส์ เพื่อประชุมวางแผน และลงจอดสู่ “ ทะเลแห่งความเงียบสงบ ” ( Mare Tranquillitatis )

วัตถุประสงค์หลัก อะพอลโล 11

สำหรับวัตถุประสงค์หลัก ของโครงการในครั้งนั้น คือ การบรรลุเป้าหมายระดับชาติ จากที่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้กำหนดไว้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ด้วยข้อความว่า “ การนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ โดยคนที่จะลงจอดต้องเป็นลูกเรือ และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ” อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพิ่มเติม รายละเอียดดังนี้

  • การใช้กล้องโทรทรรศน์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังโลก
  • การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้โมดูลดวงจันทร์ หรือ LM
  • การทดลองใช้งานองค์ประกอบลมสุริยะ ตัวสะท้อนแสงแบบเลเซอร์ ชุดทดลองแผ่นดินไหว
  • การเก็บก้อนหิน 23 ชิ้นกลับมายังโลก

ที่มา: NASA - Apollo 11 [2]

ส่วนประกอบยานลำแรก และจรวด Saturn V

อะพอลโล 11

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนประกอบหลัก และส่วนประกอบย่อย ของยานอะพอลโล และจรวด Saturn V โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • Apollo Spacecraft

ชิ้นส่วนบนสุด ห้องโดยสารที่มีทางเข้า - ออกในตัว

ชิ้นส่วนที่ 2 เครื่องยนต์ขับดัน เพื่อบังคับทิศทาง

ชิ้นส่วนที่ 3 เครื่องยนต์หลัก

ชิ้นส่วนที่ 4 ห้องโดยสารนักบินอวกาศ และจะมีอุปกรณ์ตรวจจับเรดาร์ ติดตั้งอยู่ส่วนบนของห้องโดยสาร

ชิ้นส่วนที่ 5 ขาสำหรับลงจอด

  • จรวดขนส่งอวกาศ Saturn V

ขั้นที่ 3 จะมีไฮโดรเจนเหลวบรรทุกไปด้วย 252,750 ลิตร ออกซิเจนเหลว 73,280 ลิตร ส่วนนี้จะเป็นเครื่องยนต์ J - 2

ขั้นที่ 2 ประกอบไปด้วย Liquid Hydrogen 984,000 ลิตร Liquid Oxygen 303,000 ลิตร เป็นเครื่องยนต์ J - 2 จำนวน 5 ตัว อีกทั้งยังมีวงแหวนกั้นกลาง เพื่อให้จรวดแต่ละขั้นทำงานแยกกัน

ขั้นที่ 1 บรรทุกออกซิเจนเหลว 1,204,000 ลิตร น้ำมันก๊าด 770,000 ลิตร ต่อท้ายด้วยเครื่องยนต์ F - 1 จำนวน 5 ตัว

เหตุขัดข้องโครงการ อะพอลโล 11 ทำให้ถูกสั่งพัก

สำหรับเหตุขัดข้อง เกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบภารกิจ เมื่อปี ค.ศ. 1967 ทาง United States เอง หวังจะนำคนเป็น ๆ ขึ้นสู่ห้วงอวกาศให้ได้ และต้องการจะเป็นประเทศแรกที่ทำสำเร็จ แต่การฝึกซ้อมทุก ๆ วันนั้น

กลับกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่ เพราะได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ ในส่วนของยานบัญชาการ ทำให้นักบินที่อยู่ข้างใน 3 คน เสียชีวิตระหว่างฝึกซ้อมทั้งหมด สาเหตุนี้เองที่ทำให้โครงการ ถูกสั่งระงับนานหลายเดือน

โปรเจกต์สารคดีขนาดสั้น “ มิลเลอร์ ”

อะพอลโล 11

ว่าด้วยสิ่งที่น่าสนใจ ของโครงการในครั้งนั้น คือ “ สารคดีขนาดสั้น ” ไม่มีการใช้เสียงบรรยาย มีแต่เสียงการรายงานข่าว จากรายการวิทยุ รวมถึงรายการโทรทัศน์ ตัดสลับกับเสียงการปฏิบัติงาน ขององค์การนาซา ที่คอยพูดคุยโต้ตอบ และคอยส่งข้อมูล

ให้กับนักบินทั้ง 3 คน นีล อาร์มสตรอง, บัซ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ อีกทั้งฟุตเทจก็ได้บันทึกภาพ รวมถึงเบื้องหลังการออกเดินทาง ไว้ครบหมดทุกส่วน ไม่มีขาด ไม่ว่าจะเป็น ภาวะตึงเครียดของนักบิน จอภาพตอนบิน หรือสีหน้าวิตกกังวล เป็นต้น

ด้วยสารคดีนี้เอง ที่เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของ Project Apollo ที่ทางมิลเลอร์ ได้รับอภิสิทธิ์จากองค์การนาซา ให้หยิบฟุตเทจบันทึกภาพใดก็ได้ ไปใช้ประกอบออกมาเป็น โปรเจกต์สารคดีขนาดสั้น อีกทั้งยังได้งานภาพ ที่ถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม 70 มม. เป็นภาพที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน [3]

ภาพรวม Project Apollo

  • ลูกเรือ : นีล อาร์มสตรอง ( ผู้บัญชาการ ), บัซ อัลดริน ( นักบินโมดูลดวงจันทร์ ), ไมเคิล คอลลินส์ ( นักบินโมดูลคำสั่ง )
  • ลูกเรือสำรอง : จิม เลิฟเวลล์ ( ผู้บัญชาการ ), เฟรด ไฮส์ ( นักบินโมดูลดวงจันทร์ ), วิลเลียม แอนเดอรส์ ( นักบินโมดูลคำสั่ง )
  • เปิดตัว : 16 กรกฎาคม 1969 เวลา 09:32 น. EDT
  • ความสูงของวงโคจร : 118.65 ไมล์ ด้วยความเอียง 32.521 องศา รอบวงโคจร 30 รอบ ระยะเวลา 8 วัน 3 ชั่วโมง 18 นาที 35 วินาที ด้วยระยะทาง 935,054 ไมล์
  • ตำแหน่ง : ทะเลแห่งความเงียบสงบ
  • พิกัดทางจันทรคติ : .71 องศาเหนือ 23.63 องศาตะวันออก
  • ลงจอด : 24 กรกฎาคม 2512 เวลา 12:50 น. EDT ยังมหาสมุทรแปซิฟิก

ที่มา: NASA - Apollo 11 Mission Overview [4]

สรุป อะพอลโล 11 ( Apollo Program )

อะพอลโล 11

โครงการระดับชาติที่ส่งผลอย่างยิ่ง ต่อประวัติศาสตร์ของสหรัฐ รวมถึงประวัติศาสตร์โลก ช่วงเวลาเหตุการณ์สำคัญ ที่ช่วยแสดงถึงพลังอำนาจ ความประสบความสำเร็จของ United States of America เมื่อเทียบกับงบประมาณ 772,500 ล้านบาท ที่ต้องเสียไป

อ้างอิง

[1] BBC NEWS ไทย. (July 16, 2019). อะพอลโล 11 : เรื่องราวที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนของภารกิจเหยียบดวงจันทร์. Retrieved from bbc

[2] NASA. (January 08, 2024). Apollo 11. Retrieved from nasa.gov

[3] The MOMENTUM. (July 10, 2021). ‘Apollo 11’ สารคดีบันทึกการเดินทางไปดวงจันทร์ครั้งสำคัญของมนุษยชาติ. Retrieved from themomentum

[4] NASA. (April 17, 2015). Apollo 11 Mission Overview. Retrieved from nasa.gov

ชีวิตคือการเรียนรู้ ชีวิตคือการผจญภัย เราอาจจะพบกับความท้าทายอยู่เสมอ ขอเพียงแค่กล้าเผชิญหน้า ไม่ก้าวข้าม มีพักบ้าง เพื่อให้ตัวเองได้เรียนรู้ระหว่างทาง
PGslot
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
PGslot
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-homeหน้าหลักPgslot-promotionโปรโมชั่นPgslot-LoginPgslot-registerสมัครสมาชิกPgslot-กิจกรรมกิจกรรม
line-Pgslot