การแข่งขัน โบทาโอชิ (Bo-taoshi) กีฬาสุดบ้าบิ่นจากแดนปลาดิบ

มิถุนายน 11, 2024
โบทาโอชิ

โบทาโอชิ หรือ โบ-ตาโอชิ (Bo-taoshi) หนึ่งในกีฬาสุดบ้าบิ่น ที่ป็อปปูล่ามากๆ ในโรงเรียนมัธยมชายญี่ปุ่น เป็นการแข่งขันยึดธงแบบดั้งเดิม ที่ในแต่ละครั้ง ประกอบด้วยผู้เล่นถึง 300 คน และเน้นกลยุทธ์เป็นทีม ส่วนข้อมูลอื่นๆ ทั้งต้นกำเนิด และกฎกติกา มีรายละเอียดดังนี้

ทำความรู้จัก โบทาโอชิ / 棒倒しมันคืออะไร

โบทาโอชิ มีชื่อญี่ปุ่นว่า “棒倒し” เป็นกีฬาคล้ายๆ กับการแข่งขันยึดธง ที่เล่นกันโดยนักเรียนนายร้อยที่สถาบันป้องกันประเทศ (NDA) ญี่ปุ่น โดยเป็นกีฬาผสมผสาน ระหว่างยึดธง รักบี้ ซูโม่ อเมริกันฟุตบอล และศิลปะต่อสู้

แต่นักประวัติศาสตร์กีฬาชาวญี่ปุ่น เชื่อกันว่าโบ-ตาโอชิ มีต้นกำเนิดมาจาก กีฬาหลายชนิดของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น ฮาตะ โทริ (ยึดธง), ซาโอะ โนโบริ (ปีนเสา) และสึนะ โบโบริ ฮาตะ โทริ (ปีกเชือกคว้าผ้า) จนกลายมาเป็น การแข่งขันสุดขั้วนี้

ประวัติความเป็นมา โบทาโอชิ และวัตถุประสงค์

Bo-taoshi กำเนิดขึ้นในญี่ปุ่น เมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1940 โดยได้รับการพัฒนา ให้เป็นกีฬาประจำกองทัพ เพื่อการทำงานเป็นทีม การประสานงาน และการคิดเชิงกลยุทธ์แบบทหาร ต่อมาจึงพัฒนาไปสู่ กีฬาสีที่แข่งในโรงเรียน โดยเน้นการแข็งแรง คล่องตัว และการเล่นเป็นทีม

ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ทีม ทีมละ 150 คน (ผู้โจมตี 15 คน และผู้ป้องกันเสา 75 คน) ทำให้ในแต่ละรอบ จะมีจำนวนผู้เล่นมากถึง 300 คน โดยกติกาง่ายๆ คือโค่นเสาฝั่งตรงข้ามลง ในขณะที่อีกทีม จะต้องป้องกันเสาให้ตั้งตรง

โดยมีวัตถุประสงค์ คือการประสานงานที่มีกลยุทธ์ ความแข็งแกร่งทางกายภาพ และการตัดสินใจที่รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็น ถึงความสำคัญ ทางด้านวัฒนธรรม รวมถึงการสานสัมพันธ์ ที่จะทำให้สนิทกันมากขึ้นอีกด้วย [1]

กติกาแข่งขัน โบทาโอชิ พร้อมตำแหน่งผู้เล่น

กฎกติกา

  • ใช้เวลาแข่งขัน 2 นาที
  • เริ่มต้นเสาตั้งฉาก 90 องศา หากเสาของทีมใด เอียงทำมุม 30 องศา ถือว่าแพ้
  • กฎใหม่ปี 1973 ปรับเสาให้ต่ำกว่า 45 องศาแนวนอน
  • หากไม่มีทีมชนะในเวลาแข่งขัน จะทำการแข่งซ้ำอีกรอบ
  • 2 ทีม มีผู้เล่นทีมละ 150 คน แบ่งเป็นฝ่ายรุกสวมเสื้อทีม และฝ่ายรับสวมเสื้อสีขาว
  • ห้ามใช้ความรุนแรง เช่น ต่อย เตะ รัดคอ ดึงหัว เป็นต้น
  • หากทีมใดทำฟาวล์ 3 ครั้ง ถูกตัดสิทธิ์ทันที

ตำแหน่งผู้เล่น

  • Rider on top หรือ 上乗り: ผู้เล่นเพียงคนเดียว นั่ง-เกาะอยู่บนเสา
  • Circle หรือ サークル : ผู้เล่นที่อยู่รอบๆ เสา เป็นลักษณะวงกลม
  • Pole support หรือ 棒持ち : ผู้เล่นที่อยู่ในวงกลม เพื่อยึดฐานของเสา
  • Interference หรือ キラー : ผู้เล่นที่ก่อกวนผู้โจมตี
  • Attackers หรือ 遊撃 : ผู้เล่นตำแหน่งโจมตี (ฝ่ายรุกเดี่ยว)
  • Scrum หรือ スクラム : การก่อตัวของผู้โจมตี ที่สามารถรองรับการกระโดดไปยังเสาได้
  • Chargers หรือ 突攻 : การโจมตีกะทันหัน (ผู้เล่นที่ได้รับมอบหมาย ให้เข้าชาร์จเสา)

ที่มา: Rules and player positions [2]

สถิติการชนะ โบทาโอชิ ในสถาบัน NDA of Japan

สำหรับสถิติการชนะของกีฬา โบทาโอชิ ใน National Defense Academy of Japan สถาบันหลักๆ ของกีฬาชนิดนี้ มีบันทึกข้อมูลตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2022 แต่ในปี 2020 ไม่มีกิจกรรมเกิดขึ้น ดังเช่นข้อมูลต่อไปนี้

  • 2013 : ชนะเลิศเป็นของกองพลที่ 2 / รองแชมป์เป็นของกองพลที่ 4
  • 2014 : ชนะเลิศเป็นของกองพลที่ 3 / รองแชมป์เป็นของกองพลที่ 2
  • 2015 : ชนะเลิศเป็นของกองพลที่ 1 / รองแชมป์เป็นของกองพลที่ 2
  • 2016 : ชนะเลิศเป็นของกองพลที่ 2 / รองแชมป์เป็นของกองพลที่ 1
  • 2017 : แชมป์ตกเป็นของกองพลที่ 2 / อันดับสองตกเป็นของกองพลที่ 4
  • 2018 : แชมป์ตกเป็นของกองพลที่ 2 / อันดับสองตกเป็นของกองพลที่ 1
  • 2019 : แชมป์ตกเป็นของกองพลที่ 1 / อันดับสองตกเป็นของกองพลที่ 2
  • 2021 : แชมป์ตกเป็นของกองพลที่ 3 / อันดับสองตกเป็นของกองพลที่ 2
  • 2012 : แชมป์ตกเป็นของกองพลที่ 2 / อันดับสองตกเป็นของกองพลที่ 4

ที่มา: これまでの優勝記録 [3]

แรงบันดาลใจจาก โบทาโอชิ บนจอภาพยนตร์

นอกจากจะเป็นกีฬาสุด Popula ที่มีการแข่งขันจริงๆ จังๆ โบ-ตาโอชิยังถูกนำไปสร้างเป็น ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในปี 2003 โดยเข้าฉายเมื่อวันที่ 21 มีนาคม และวางจำหน่ายแบบ DVD ในวันที่ 20 สิงหาคมปีเดียวกัน

มีชื่อเป็นทางการว่า 棒たおし! / Pole Toppling! ความยาวหนัง 1 ชั่วโมง 33 นาที กำกับโดยเท็ตสึ มาเอดะ และเขียนบทโดยมิโนรุ มัตสึโมโตะ และสตาร์ดัง อาทิเช่น ชินยะ ทานิอุจิ, เคียวเฮ คาเนโกะ และเคอิตะ ฟุรุยะ ซึ่งปัจจุบัน มีข้อมูลบนเว็บหนังดังอย่าง IMDb สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ IMDbPro

รีแอ็กชันต่อ โบทาโอชิ ในต่างประเทศ

ในส่วนของรีแอ็กชัน การแข่งขันยึดเสาญี่ปุ่น ในต่างประเทศ อย่างเช่นหนังสือพิมพ์ The New York Times ซึ่งพาดหัวข่าวว่าด้วยเรื่อง เกมอันตรายที่สุดในญี่ปุ่น และความวุ่นวายที่เกิดขึ้น พร้อมกับรายงานเกี่ยวกับ ประเพณีแข่งขัน ในโรงเรียนมัธยมเอกชนชื่อดังของโตเกียว

ทางด้านของสำนักข่าว CNN แนะนำ Botoshi ให้เป็นการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ และนักข่าวคนหนึ่งชื่อ Coy Wire กล่าวขณะดูเกมในโตเกียวว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของรักบี้ อเมริกันฟุตบอล มวยปล้ำ ซูโม่ ที่บ้าบิ่นไม่เหมือนใคร และฉันไม่เคยเห็นมาก่อน [4]

และหากใครมองภาพการแข่งขันไม่ออก สามารถรับชมภาพจริง เสียงจริง ในแพลตฟอร์มยูทูบ ชื่อช่องว่า Amazing Japon TV ซึ่งเป็นคลิปที่เผยแพร่เมื่อ 9 ปีที่แล้ว และมียอดผู้เข้าชมกว่า 2,900,000 คน คลิกเพื่อชมได้ที่ Japanese Dangerous Sport (Bo-Taoshi)

สรุป โบทาโอชิ

โบทาโอชิ หนึ่งในการแข่งขันดั้งเดิม และถือว่าเป็นกีฬาลูกผสม ที่มีผู้เล่นมากถึง 300 คน ซึ่งยังมีชื่อเสียง ด้านสมรรถภาพร่างกาย และการต่อสู้เป็นทีม ที่ไม่เพียงแต่นิยมในญี่ปุ่น แต่ทำให้คนทั่วโลก Wow! โดยในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนกฎใหม่ๆ เพื่อให้ทุกช่วงอายุ สามารถชมการแข่งขันได้

อ้างอิง

[1] Weirdest Sports. (July 1, 2024). The History of Bo Taoshi, Objectives of the Game. Retrieved from weirdestsports

[2] Wikipedia. (June 2, 2024). Rules and player positions. Retrieved from en.wikipedia

[3] 防衛大学校. (2024). これまでの優勝記録. Retrieved from nda.ac.jp

[4] CNN Sports. (October 26, 2018). Botaoshi – the extreme Japanese sport you’ve probably never heard of . Retrieved from edition.cnn

อะไรที่ได้มาด้วยความพยายามของตัวเอง มันจะไม่มีทางหลุดมือไปง่ายๆ
PGslot
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
PGslot
เว็บเดิมพันอันดับ 1 คาสิโนสดออนไลน์ เสมือนอยู่ในคาสิโนจริง มีรูปแบบการเดิมพันมากมาย Pgslot สล็อตออนไลน์ ทำกำไรง่าย ได้เงินจริงจากเว็บตรง เว็บเดียวจบ จากค่ายดัง ทั่วทุกมุมโลก รองรับทุกระบบทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฝาก - ถอน อัตโนมัติทุกขั้นตอน เว็บเดิมพันที่ดีที่สุดในประเทศไทย
Pgslot-homeหน้าหลักPgslot-promotionโปรโมชั่นPgslot-LoginPgslot-registerสมัครสมาชิกPgslot-กิจกรรมกิจกรรม
line-Pgslot